สถาปัตย์กรรม เมืองเก่าภูเก็ต
นกแก้วกำลังมองหาเพื่อน
จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอก, บาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. แพทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ., พท.ว., พท.ผ., พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
สถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อด้านศิลปวัฒนธรรม
สถาปัตยกรรมเมืองเก่าภูเก็ต
สถาปัตยกรรม เป็นศิลปะเกี่ยวกับรูปร่างอาคารและพื้นที่สำหรับใช้สอยภายใน และภายนอก มีอาคารสาธารณะ เช่น สถานที่ทำงานของราชการ อาคารทางศาสนา ศูนย์การค้า อาคารพานิชย์ โรงแรม สโมสรที่พักผ่อน และที่พักอาศัย บ้านจัดสรร การตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของอาคาร เช่น ด้านหน้า มีลวดลายปูนปั้น เสา หน้าต่าง ผนัง เป็นต้น และตกแต่งภายในอาคาร ตามรสนิยมของเจ้าของบ้าน (ไม่ใช่รสนิยมของสถาปนิก หรือผู้ออกแบบ เพราะเขาไม่ใช่ผู้อยู่อาศัย ยกเว้นเป็นบ้านของสถาปนิกเอง) ตลอดจนภูมิทัศน์ สวนสาธารณะ ก็ต้องเป็นความต้องการของผู้ใช้ ผู้เป็นเจ้าของชุมชน หรือท่องถิ่นนั้น
จึงสรุปได้ว่า สถาปัตยกรรมภูเก็ต ก็คือศิลปวัฒนธรรม ตามรสนิยมของชาวภูเก็ตไม่ใช่ของต่างชาติ เพราะไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ
สถาปัตยกรรม วัดพระนางสร้าง มีลักษณะเรียบง่ายก่ออิฐฉาบปูนขาวไม่มีชายคา ประโยชน์ใช้สอยภายในไว้ทำสังฆกรรม ราคาประหยัด แต่ที่แปลกประหลาดน่าพิศวง พระพุทธรูปองค์ใหญ่ในอุโบสถ มีพระเศียรพระพุทธรูปดีบุกอยู่ภายในท้อง ถ้าสงสัยก็ไปสอบถามดูได้ที่นี่
ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
สถาปัตยกรรม อาคารศาลากลางจังหวัดภูเก็ต มีลักษณะโดดเด่น คือ มีทางเดินโดยรอบภายในอาคารนอกห้องทำงาน กันแดดกันฝนได้ และมีช่องพื้นที่โล่งตรงกลางอาคาร ทำให้อากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างพอเพียง ปลูกต้นไม้เป็นพื้นที่สีเขียว น่าจะเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย
หอทะเบียนที่ดินจังหวัดภูเก็ต
ที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรก ภูเก็ต
ที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรก ภูเก็ต
สถาาปัตยกรรมหลังคาหัวช้าง ตลาดบ้านเชิงทะเล
สถาปัตยกรรม หลังคาหัวช้าง บ้านเชิงทะเล
ตลาดบ้านเชิงทะเลในอดีต มีเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรม บ้านเรือนสร้างด้วยไม้หลังคามุงจากทรงสูงเพื่อให้น้ำฝนไหลเทได้สะดวก และป้องกันและระบายความร้อนได้ดี พื้นดินทุบจนแข็ง ต่อมาก็เป็นพื้นขัดผิวด้วยปูนซีเมนต์ ประหยัด อากาศภายในบ้านเย็นสบาย ไม่มีฝ้าเพดาน ไม่ต้องติดแอร์ให้เปลืองเงิน
ตลาดบ้านเชิงทะเล มีมุขทรงหัวช้างเป็นหยักๆเหมือนฟันเลื่อยยื่นออกมาจากตัวบ้านประมาณที่จอดรถรับจ้าง บริเวณหน้าบ้านไว้เป็นทางเดินเชื่อมติดต่อกันทุกหลังคาเรือนป้องกันแดดลมฝน ให้ลูกหลานวิ่งเล่น เด็กนั่งเล่นหมากเก็บ คนแก่นั่งเล่นหมากรุก
หน้าบ้าน มีเตียง (โปฉึง) เป็นที่น้่งพักผ่อน ปัจจุบันนี้ไม่มีให้ดูอีกแล้ว เหลือแต่รูปเป็นอนุสรณ์เท่านั้น
ประโยชน์ใช้สอยภายในตัวบ้าน ห้องแรกเป็นห้องรับแขก มีโต็ะสี่เหลี่ยม มีเก้าอี้ มีตู้โชว์ มีโต็ะทรงสูงไว้ตั้งพระหรือรูปพระบูชา
ห้องถัดไปเป็นห้องนอน ๒ ห้อง เข้าทางด้านหน้าหนึ่งห้อง มีทางเดินเข้าไปที่ห้องครัว ระหว่างนั้นจะมีประตูห้องนอนอีกห้องหนึ่ง
ห้องถัดไปเป็นที่อาบน้ำ ซักผ้า ล้างจาน ฯลฯ (เรียกว่าฉิ่มแจ้)
มีบ่อน้ำ (อาจมีบ้านที่เป็นญาติกันก็ใช้บ่อแบ่งกันบ้านละซีกจะประหยัดค่าขุดบ่อ) บริเวณนี้เป็นที่โล่งไม่มีหลังคา อากาศถ่ายเทได้ดีมาก ระบายอากาศ ควันไฟจากครัวหุงอาหาร มีแสงสว่างพอเพียง มีแสงแดดฆ่าเชื้อโรคไม่ชื้นแฉะ มีราวตากผ้า และปลูกต้นไม้สวนครัวในกระถางได้ เช่น ขิง สาระแหน่ กระชาย กุ้ยไช่ เป็นต้น
พื้นที่ถัดไปเป็นห้องโถงใหญ่ มีเตา ๓ ช่อง (โพ) ก่ออิฐฉาบปูน ด้านล่างใส่ไม้ฟืน ประหยัดไม่ต้องใช้แก็สให้เปลืองเงิน มีตู้กับข้าว
บริเวณทำอาหาร ทำขนม มีโต๊ะทานอาหาร มีเอ้าอี้ หลายตัว มีที่ตั้งของเก็บของใช้ มีหน้าต่าง และประตูออกหลังบ้าน
บริเวณหลังบ้านไว้เก็บฟืนของ เลี้ยงไก่ หมู พื้นที่โล่ง ปลูกผักสวนครัวมีห้องส้วม อยู่ในรั้ว และมีประตูเดินไปบ้านเพื่อนบ้าน เอาอาหารไปแบ่งปันให้เพื่อนรับประทาน นับว่าเป็นบ้านที่น่าอยู่อาศัยมีเพื่อนบ้าน มีพื้นที่พอเพียงในการดำรงชีวิตเรียบง่าย ประหยัด ได้ประโยชน์
เชิงทะเลเคยมีสิ่งดีๆ แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียงรูปภาพไว้ให้ลูกหลานดู
ตลาดบ้านเชิงทะเลปัจจุบันนี้ไม่มีหลังคามุงจากหัวช้างให้ดูอีกเลย
สถาปัตยกรรมในอดีต เมืองภูเก็ต
สี่แยกถนนพังงา-ภูเก็ต (น้ำท่วม)
สี่แยกถนนพังงา-ภูเก็ต
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
สถาปัตยกรรมของภูเก็ตเป็นลักษณะเด่นเฉพาะของชาวภูเก็ตตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และในอนาคต ภูเก็ตไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของจีนและโปรตุเกส จึงเป็นสถาปัตยกรรมศิลปะวัฒนธรรมของชาวภูเก็ต ควรอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานเป็นสมบัติเหมือนพิพิธภัณฑ์ ให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชม นำเงินมาให้ลูกหลานต่อไป แต่ถ้าถูกทำลายให้หมดไปเสียแล้ว จะไม่เหลือหลักฐานที่เจริญด้านศิลปะวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรม ไว้ให้ลูกหลานได้ภาคภูมิใจ และนักท่องเที่ยวได้ชม
สถาปัตยกรรมเก่าในเมืองภูเก็ต เป็นอาคารตึกเสาโตๆ ผนังอิฐดินเผาหนาๆ ฉาบปูนขาว มีชายคาสั้นๆ หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบกล้วย โครงหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง หลังคาทรงสูง ด้านหน้าอาคารตกแต่งด้วยลวดลวยปูนปั้น หัวเสาอาจเป็นลักษณะทางเมืองนอกที่ชาวภูเก็ตได้ไปศึกษาอยู่เมืองนอกนำเข้ามาทำตามรสนิยมของตนให้เข้ากับสมัยนั้นๆ มีหน้าต่างปูนปั้นโค้ง ประตูโค้ง และทางเดินหน้าบ้านโค้ง ป้องกันแดดและฝน กว้างประมาณ 5 ศอก (หง่อก่ากี่) ปัจจุบันได้ถูกปิดเป็นที่ขายของ และรั้วกั้น จึงต้องเดินข้างถนนแทน หลายถนน
พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารแตกต่างกันไปตามรสนิยมของเจ้าของบ้านเนื่องจากพ่อเป็นคนมาจากเมืองจีนจึงนำแบบบ้านพักที่ตนคุ้นเคยมาสร้างเป็นที่พักอาศัยผสมกับรสนิยมของลูกๆ หัวนอก จึงได้เอกลักษณ์ สถาปัตยกรรมของเมืองภูเก็ต แต่มีลักษณะโดดเด่นที่คล้ายๆกัน คือ มีช่องระบายอากาศ หลังคาโล่ง ตรงบริเวณบ่อน้ำ อาบน้ำ ที่ซ้กล้าง (ฉิ่มแจ้) อยู่ตรงส่วนกลางของอาคาร ติดกับบริเวณครัวห้องอาหาร ปัจจุบันตึกหลายหลังได้ปิดช่องระบายอากาศต่อเติมเป็นห้องชั้นบน
ชาวภูเก็ตหลายคนเป็นลูกหลานคนจีนได้มาอยู่ที่เกาะภูเก็ต มีหลายตระกูลประสบความสำเร็จเป็นเจ้าของเหมืองแร่ดีบุก ได้เคยไปศึกษาที่เกาะปีนัง และยุโรป ได้นำศิลปะการตกแต่งด้านสถาปัตยกรรมที่ชอบมาสร้างในเกาะภูเก็ต เป็นทั้งที่ทำการค้า และที่พักอาศัยในอาคารเดียวกัน นี่ก็เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูเก็ต ยกเว้นบางถนนจะใช้เป็นที่พักอาศัยเป็นตึกแถวเป็นที่อยู่ของครอบครัวนายเหมือง
แต่ก็มีนายหมืองหลายตระกูลสร้างตึกแบบฝรั่งตะวันตก (อั่งม่อหลาว) ในพื้นที่ๆมีบริเวณโดยรอบ มีสนามหญ้า ปลูกต้นไม้ ดูสวยงาม
สถาปัตยกรรมภูเก็ตมีประตู หน้าต่าง หน้าบ้าน แตกต่างกันไป
ตามรสนิยมของเจ้าของบ้าน
สถาปัตยกรรมภูเก็ตช่องทางเดินหน้าบ้าน กันแดดกันฝน
กว้างประมาณ 5 ศอก (หง่อก่ากี่)
แสตมป์ถ้ำลอดอันมีชื่อเสียงของอ่าวพังงา
ถ้ำลอดด้านนอกอันมีชื่อเสียงของอ่าวพังงา
ถ้ำลอดด้านในอันมีชื่อเสียงของอ่าวพังงา
เครื่องบินเจมสบอน ที่เขาพิงกัน อ่าวพังงา
หาดแห่งหนึ่งบนเกาะยาวน้อย พังงา
สะพานเชื่อมระหว่างพังงากับเกาะภูเก็ต
ใน