Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อกนี้ / เว็บ

Tuesday, March 28, 2017

ประเพณีเทศกาลเฉ่งเบ๋งของฮกเกี้ยนหรือเช็งเม้งของแต้จิ๋วในภูเก็ต

ประเพณีเฉ่งเบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือเช็งเม้ง (แต้จิ๋ว) ในภูเก็ต






จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม

เพื่อความรู้เรื่องประเพณีสำคัญในภูเก็ตแก่ผู้ชม

ประเพณีเทศกาลเฉ่งเบ๋งของลูกหลานฮกเกี้ยน

หรือเช็งเม้งของลูกหลานแต้จิ๋วในภูเก็ต

วันประเพณีเฉ่งเบ๋ง (ฮกเกี้ยน) ปี 2559 และ 2560 ปี 2563 และปี 2564 ตรงกับวันที่ 4 เมษายน ปี 2561, 2562, 2565, 2566, 2567 ตรงกับวันที่ 5 เมษายน (ส่วนมากตรงกับวันที่ 5 เมษายน) ปีอื่นๆ ให้ดูปฏิทินจีนว่าตรงกับวันใด เทศกาลเฉ่งเบ๋ง รวม 7 วัน ก่อน 3 หลัง 3 วัน เว้นแต่ในไทยสำหรับญาติที่อยู่ห่างไกล จะเริ่มตั้งแต่ 15 มีนาคม ถึง 8 เมษายนก็ได้ เพราะมีปัญหาเรื่องการเดินทางไกล
เทศกาลเฉ่งเบ๋งในจีน จะเริ่มต้นช่วงวันที่ 4-5 เมษายน ไปจนถึงวันที่ 19-20 เมษายน เพราะว่าย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ อากาศเริ่มอบอุ่น มีฝนตกโปรยปราย ทำให้บรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าสว่างแจ่มใส ด้วยสภาพภูมิอากาศเช่นนี้เอง จึงเป็นที่มาของคำว่า "เฉ่งเบ๋ง"
ความหมายของคำว่า "เฉ่งเบ๋ง"  เฉ่ง หมายถึง ความสะอาด บริสุทธิ์ และคำว่า เบ๋ง หมายถึง สว่างแจ่มใส เมื่อนำคำว่า "เฉ่งเบ๋ง" มารวมกันแล้วหมายความถึง ฤดูของการทำความสะอาดสถานที่ กับความสว่างแจ่มใสของท้องฟ้า หลังจากฤดูหนาวถูกหิมะปกคลุมมานาน จึงเหมาะกับการรวมญาติพี่น้องมาทำกิจกรรมแสดงความกตัญญูต่อบรรพชน ตามลัทธิขงจื๊อ และได้เป็นประเพณีสืบต่อมาถึงลูกหลานจีนในไทยจนถึงทุกวันนี้
ประเพณีเฉ่งเบ๋ง (ฮกเกี้ยน) แต้จี๋วเรียกว่า เช็งเม้ง เป็นเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดชาวจีน คือ การไปไหว้บรรพชนที่บ่องป๋าย  (แต้จี๋วเรียกว่า ฮวงซุ้ย หรือ ฮวงจุ้ย ) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพชน โดยความเชื่อถือมาจากลัทธิขงจื๊อที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ ประเพณีนี้สืบทอดมายาวนานเป็นพันปี โดยขุนนางสมัยราชวงศ์โจว  โจวกงจีตั้นเป็นผู้กำหนดพิธีงานคนตาย
สมัยราชวงศ์ถัง (ประมาณปี พ.ศ. 1161) มีพระราชพิธีไหว้บ่องป๋ายอดีตกษัตริย์กล่าวว่า
ได้มีการบันทึกเป็นอักษร ปีหนึ่งกระทำกันปีละ 2 ครั้ง คือเทศกาลเฉ่งเบ๋ง และประมาณปลายปีอีกหนึ่งครั้ง
(ความคิดเห็นส่วนตัว 1 ปีของโลกสวรรค์เท่ากับ 1 วันของโลกมนุษย์ การไหว้อาหารแก่บรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้วปีละ 2 ครั้ง เท่ากับวันละ 2 ครั้งในโลกมนุษย์ เช่นในไทยมีประเพณีเทศกาลเฉ่งเบ๋ง และการทำบุญให้ญาติบรรพชนในเดือน 10 บาลีเรียกว่า สารท )

ประโยชน์ของการไปไหว้บรรพชนในเทศกาลเฉ่งเบ๋ง
1.    เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของบรรพชนได้กำเนิดเลี้ยงดูให้ความเป็นอยู่ที่ดีมีการศึกษาดีแก่เราด้วยดีเสมอมา
2.    เป็นเทศกาลของความรักสามัคคีร่วมกันทำความดี มีน้ำใจ ไมตรี อภัย อโหสิกรรม  ท่านว่าเป็นวันรวมญาติ 
3.  เป็นประเพณีสืบทอดแบบอย่างที่ดีการกตัญญูกตเวทีให้แก่อนุชนต่อไปภายหน้า
4.    เป็นการเตือนตนอย่าประมาทให้ พิจารณามรณานุสติกรรมฐาน ระลึกถึงความตายทุกขณะต้องเกิดขึ้นกับทุกคน เป็นธรรมดาของมนุษย์ เกิดมาไม่ได้เอาอะไรมา ต้องแก่ ต้องเจ็บ และต้องตายจากโลกนี้ไปแน่นอนสักวันหนึ่ง เอาอะไรไปได้บ้าง นอกจากบุญและบาปกรรมที่ได้ทำไว้
                 
ประวัติการทำความสะอาดบริเวณบ่องป๋าย 
        เริ่มมาจาก พระเจ้าฮั่นเกาจู หลังจากก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้นแล้ว ระลึกถึงบุญคุณของพระบิดาและพระมารดาที่เสียชีวิตไปแล้ว จึงรีบกลับบ้านเกิด เนื่องจากป้ายชื่อของบ่องป๋ายแต่ละแห่งเลือนลางมากหลังจากสงคราม พระเจ้าฮั่นเกาจูจึงทำพิธีเสี่ยงอธิษฐานต่อฟ้าดินด้วยการโปรยกระดาษสีขึ้นบนฟ้าแล้วให้ลมพัดปลิวไป ถ้าหากกระดาษสีตกลงที่บ่องป๋ายใด ถือว่าเป็นบ่องป๋ายของพระบิดา และพระมารดาของพระองค์ และเมื่อพิจารณาดูป้ายชื่อแล้วก็พบว่า เป็นบ่องป๋ายของพระบิดาและพระมารดาของพระองค์จริง ดังนั้น ประเพณีการทำความสะอาดบ่องป๋ายและการโปรยกระดาษสีบนบ่องป๋าย ได้เริ่มมาจากสมัยนั้นเป็นต้นมา



การทำความสะอาดและตกแต่งบริเวณบ่องป๋าย
ก่อนทำพิธีไหว้เจ้าที่และบรรพชน ผู้ที่เป็นลูกหลานต้องนำอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น จอบ เสียม มีด ปุ้งกี๋ สี แปรงทาสี น้ำสะอาด ดิน (นิยมสีแดง) เพื่อร่วมกันทำความสะอาดบริเวณบ่องป๋าย เอาดินขึ้นถมพูนหลังบ่องป๋าย ช่วยรดน้ำพรวนดินต้นไม้บริเวณบ่องป๋าย และบริเวณใกล้เคียง เพราะต้นไม้ที่อยู่รอบๆ บริเวณบ่องป๋าย บางต้นให้ร่มเงาดอกสวยงามมีผลดี แต่บางต้นใกล้ตายอาจส่งผลเสียแก่บ่องป๋ายได้ เคยมีประสบการณ์มาแล้ว ต้นมะขามป้อมล้มลงทับบ่องป๋าย


         ทาสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ ญาติที่ล่วงลับไปแล้วให้ทาสีเขียวหรือสีทองขลิบเขียว ส่วนป้ายชื่อญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ทาสีแดง
ข้อห้าม ไม่ควรถอนหญ้า เพราะอาจกระทบตำแหน่งที่ห้าม เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ทิศดาวเบญจภูติ เป็นต้น


         
การตกแต่งบ่องป๋าย อาจใช้กระดาษม้วนสายรุ้งสำหรับญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ใช้สายรุ้งสีแดง ส่วนญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ใช้สายรุ้งสีอะไรก็ได้
ข้อห้าม ไม่ควรปักธงลงบนหลังบ่องป๋าย เพราะถือว่า เป็นการทิ่มแทงและทำให้หลังคาบ้านของบรรพชนรั่ว



 



            





การไหว้เจ้าที่ ถือเป็นการเคารพให้เกียรติเจ้าของสถานที และขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองดูแลบ่องป๋ายบรรพชน
         การจัดวางของไหว้เจ้าที่ (เรียงจากป้าย)
            - เทียน 1 คู่ และ ธูป 5 ดอก
            - น้ำชา 5 ถ้วย
            - เหล้า 5 ถ้วย
            - ของไหว้ต่างๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้

              (ควรงดเนื้อหมู ถ้าเจ้าที่บริเวณนั้นเป็นอิสลาม)
            - กระดาษเงิน กระดาษทอง
   
การไหว้ระลึกถึงพระคุณของบิดามารดาและบรรพชนผู้ให้กำเนิด เป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญู แก่บุคคลที่ให้เราเกิดมาทำความดีสั่งสมบุญบารมีในชาตินี้
         การจัดสิ่งของไหว้บรรพชน
   - เทียน คู่ และธูปตามศรัทธา เช่นเท่าจำนวนบรรพชนหรือท่านละ 1-3 ก้าน
   - น้ำชา 3 ถ้วย
            - เหล้า 3 ถ้วย
   - ไก่ต้ม 1 ตัว
            - หมูสามชั้น (1/2 ก.ก.) ต้ม 1 ชิ้น  
(ควรงดเนื้อหมู ถ้าเจ้าที่บริเวณนั้นเป็นอิสลาม)
            - เส้นบะหมี่สด
            - ขนม 3 อย่าง คือ เต่เหลี่ยว ข้าวเหนียวกวน ขนมอั่งกู๊
            - ขนมถ้วยฟู (ฮวดโก้ย)
ขนมอี๋
            - สับปะรด 2 ลูก รวมทั้งก้านและจุก
ส้ม เป็นต้น
            - กระดาษเงิน กระดาษทอง  เป็นต้น
ข้อห้าม  ไม่ควรวางสิ่งของไหว้หน้าป้ายหินที่จารึกชื่อบรรพชน เพราะถือว่าเป็นทางเข้า-ออกของวิญญาณบรรพบุรุษ
   ให้ผู้อาวุโส เป็นผู้ทำพิธีไหว้ และเมื่อเทียนใกล้หมดก้านก็ให้ลูกหลานทำวงล้อม แล้วเผากระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ เป็นการเชื่อถือตามประเพณีสืบต่อกันมาว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานได้ส่งให้บรรพชนของครอบครัวแล้วโดยเป็นการเฉพาะ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น )
           
ต้องพิธีไหว้ตอนเช้าไม่เกิน 11.00 น. เพราะหลังจาก 11.00 น. ควรจุดธูปหรือกล่าวลา หลังจากที่ได้เผากระดาษเงิน กระดาษทอง พร้อมกับนำส่วนของอาหารคาว ผลไม้ น้ำชา สุรา ไปเผาให้เรียบร้อยแล้ว
     เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ก็มานั่งล้อมวงรับประทานอาหารกัน เพื่อแสดงความสามัคคี หรืออาจชวนกันไปรับประทานตามชายหาดใกล้ใต้ต้นไม้ร่มรื่นอากาศดี แม้แต่ต่างชาติยังนิยมมาสูดอากาศบริสุทธิ์ชายทะเลในไทย น่าจะประหยัดกว่าไปที่ร้านอาหารของต่างชาติ ทำให้ประเทศชาติไม่เสียดุลการค้า
 








 

 




ตามความเชื่อและตามหลักวิชาฮวงจุ้ย
1.    เมื่อรับประทานหอยแครงเสร็จแล้วโยนเปลือกหอยแครงลงบนเนินบ่องป๋าย เชื่อว่าจะทำให้มีลูกหลานมาก  ท่านว่าไม่ขัดกับหลักวิชาฮวงจุ้ย
2.    ก่อนทำพิธีไหว้ การเอาดินมาพูนบนบ่องป๋าย  เชื่อว่าจะทำให้การค้าเพิ่มพูน
ตามหลัก
วิชาฮวงจุ๊ยว่าจะทำก็ต่อเมื่อหลังบ่องป๋ายมีรูแหว่ง จึงซ่อมแซมได้ และต้องดูฤกษ์ยามก่อนขุดดิน ถือเป็นการกระทบกระเทือนต่อพระแม่ธรณี
3.    ปลูกดอกไม้รอบๆ บ่องป๋ายของบรรพชน
ตามหลัก
วิชาฮวงจุ้ย ห้ามปลูกดอกไม้รอบๆ บ่องป๋ายบรรพชน เพราะมีความหมายด้านชู้สาว แต่ปลูกหญ้าได้ 

4.    ถ้าต้องการซ่อมแซมบ่องป๋ายบรรพชน ทำได้ในเทศกาลเฉ่งเบ๋ง หรือเดือนอื่นก็ได้ขึ้นอยู่กับฤกษ์ยาม ถ้าหากทำในเทศกาลเฉ่งเบ๋งโดยไม่ดูฤกษ์ยาม อาจเกิดโทษภัยจากอสูรก็ได้
5.    ตามความเชื่อ การจุดประทัด เพื่อไล่ผีร้ายให้พ้นไป
ตามหลัก
วิชาฮวงจุ้ย การจุดประทัดเป็นการกระตุ้น
หากตำแหน่งถูกต้องก็จะได้ลาภ หากผิดตำแหน่ง จะเกิดปัญหา
( ผู้จุดประทัด ต้องเข้าใจเรื่อง ดาว 9 ยุค และฤกษ์ เป็นอย่างดี )
ท่านว่าไม่จุดประทัดจะดีกว่า ประหยัดเงิน ไม่เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่น และไม่ก่อให้เกิดอัคคีภัย ที่สุสานจีนใกล้บ้าน เทศบาลต่อเอารถดับเพลิงไปรอดับเพลิงทุกปี เพราะเคยเกิดไฟไหม้บ่อยๆ )


ความรู้เกี่ยวกับตัวหนังสือที่แกะสลักในป้ายหิน หรือป้ายปูนซีเมนต์
 ตัวหนังสือจีนตัวเล็กๆที่อยู่ทั้งสองข้าง ชื่อ ที่อยู่ และวันสร้าง ส่วนตัวหนังสือจีนใหญ่นั้นบรรพชนที่อยู่ในบ่องป๋ายเป็นชาย ถ้าหากไม่มีครอบครัวจะสลักแถวเดี่ยว แต่ถ้ามีภรรยาก็จะสลักชื่อภรรยาลงไปด้วย โดยชื่อภรรยาจะอยู่ขวามือ เมื่อหันหน้าออกจากแผ่นป้าย  ถ้าภรรยาหลายคน ภรรยาหลวงจะอยู่ซ้ายมือ สามีจะอยู่กลางภรรยาคนต่อไปอยู่ ขวา ตัวหนังสือเมื่อนับจากข้างบนลงล่างตัวหนังสือตัวที่  3 - 4 คือชื่อสกุล ซึ่งหากล่วงลับไปแล้วจะใช้สีเขียวทาตัวหนังสือ ถ้ายังมีชีวิตอยู่ตัวหนังสือจะเป็นตัวหนังสือสีแดง เช่นเดียวกับตัวหนังสือตัวเล็กที่บอกที่อยู่ และวันสร้างบ่องป๋าย  ซึ่งต้องทาสีแดงให้เรียบร้อย แต่ในปัจจุบันนี้ความนิยม ตัวหนังสือทั้งหมด จะใช้สีทองหรือ ทองคำเปลวปิดหมดทุกตัวอักษร ถ้ารู้ภาษาจีนก็ทราบได้จากตัวหนังสือที่บอกวันเวลาสร้างว่าเจ้าของชื่อที่สลักไว้ล่วงลับไปแล้วหรือยัง แต่คนที่ไม่รู้ภาษาจีนก็ไม่รู้แน่นอน น่าจะเขียนเป็นภาษาไทยด้วย
อ้างอิงข้อมูลเวปไซต์จาก Google  ขอขอบคุณ และขอให้ได้บุญกุศล โดยทั่วกัน
                           ช่างทำบ่องป๋ายในอนาคตกำลังขาดแคลน เพราะลูกหลานไม่ทำ                                        ต่อ ทำอาชีพอื่นดีกว่า วิชาชีพช่างแขนงนี้ต้องทำสืบทอดจากบรรพชน                                ไม่มีโรงเรียนสอน นายปุ๋ยขณะที่ทำบ่องให้บรรพชนบอกว่าบุตรมักจะไม่                            ชอบทำอาชีพนี้ ทำอาชีพอื่นดีกว่าแต่ก็มีบุตรช่วยทำอยู่ในเมืองภูเก็ต

ป่องป๋ายหลังนี้ ฝีมือนายปุ๋ยทำและถ่ายภาพ
นายปุ๋ยช่างทำบ่องป๋ายในภูเก็ต




No comments:

Post a Comment