Search This Blog / The Web ค้นหาบล็อกนี้ / เว็บ

Monday, June 29, 2015

ศาลเจ้าปุดจ้อ พระโพธิสัตว์กวนอิม ภูเก็ต เซียมซีขอยาสมุนไพรบำบัดโรค

ศาลเจ้าปุดจ้อ พระโพธิสัตว์กวนอิม ภูเก็ต

เซียมซี ขอยาสมุนไพรบำบัดโรค


จัดทำโดย อ.หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.
ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม
เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ให้แก่ผู้เข้าชม

ศาลเจ้าปุดจ้อ ภูเก็ต ช่วยรักษาโรคด้วยยาสมุนไพร    
เรียบเรียง โดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์

ศาลเจ้าปุดจ้อ ชื่อภาษาอังกฤษ PudJor Shrine 
ตั้งอยู่ที่สามแยกถนนระนองกับถนนภูธร ใกล้สี่แยกจุ๊ยตุ่ย ภูเก็ต








ศาลเจ้าปุดจ้อ  เป็นศาลเจ้าที่สร้างมากว่า100 ปี ไว้ประดิษฐาน องค์พระโพธิสัตว์กวนอิม  ที่มีคนนับถือกราบไหว้บูชามากที่สุดในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน  กล่าวกันว่ามีพ่อค้าชาวเรือ ได้เดินทางมาจากปีนัง ได้นำรูปสลักด้วยไม้ พระโพธิสัตว์กวนอิม มาไว้ในศาลเจ้าแห่งนี้ (เดิมเป็นศาลเจ้าเต้กุ้น) และประชาชนชาวภูเก็ตซึ่งส่วนมากเป็นลูกหลานชาวจีนฮกเกี้ยน ได้ช่วยกันปรับปรุงให้แข็งแรงมั่นคงสวยงาม มาถึงปัจจุบันนี้

ปุดจ้อ หรือ พระโพธิสัตว์กวนอิม  มีความผูกพันกับวิถีชีวิตชาวภูเก็ตเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ขอพรวันแต่งงาน  ขอพรให้มีบุตรเมื่อมีบุตร 1 เดือน ก็นำบุตรมาขอพรให้มีสุขภาพดีแข็งแรงมีอายุยืนและเป็นคนฉลาด หลายคนก็นำบุตรหลานมามอบให้เป็นบุตรของพระโพธิสัตว์กวนอิม เพื่อให้เลี้ยงง่าย หลังตายแล้วก็ขอพรให้ไปสู่สุคติ เป็นต้น

เมื่อเวลาเจ็บป่วย ชาวภูเก็ตก็มาเซียมซีขอยาสมุนไพรไปรักษา ซึ่งเป็นที่นิยมของคนภูเก็ตมากเป็นพิเศษ กล่าวว่ายาที่เซียมซีขอไปรักษาหายจากโรคต่างๆ ได้ ทำให้มีร้านขายยาสมุนไพรจีน-ไทยแผนโบราณหลายร้านขายยาสมุนไพรกันมานานเป็น 100 ปี  นอกจากนี้สามารถเซียมซีถามเรื่องราวปัญหาอื่นๆ ทั่วไป ให้คลายจากความทุกข์ทางใจได้

ประสบการณ์  เมื่อสมัยเด็กคุณย่าได้นำมาไหว้ พระโพธิสัตว์กวนอิม และยกให้เป็นบุตร เพื่อให้เลี้ยงง่าย

 ตำรายาสมุนไพรของศาลเจ้าปุดจ้อ 
ชื่อภาษาอังกฤษ  Pudjor ‘s Traditional medicine ศาลเจ้าปุดจ้อ ภูเก็ต







ตำรายาสมุนไพรของศาลเจ้าปุดจ้อ  มีหลายร้อยตำรับ สำหรับแก้อาการของโรคต่างๆทั้งเด็กและผู้ใหญ่

ปุดจ้อ หรือ พระโพธิสัตว์กวนอิม  มีความผูกพันกับวิถีชีวิตชาวภูเก็ตเป็นอย่างมาก เมื่อเวลาเจ็บป่วย ชาวภูเก็ตก็มาเซียมซีขอยาสมุนไพรไปรักษา ซึ่งเป็นที่นิยมของคนภูเก็ตมาก กล่าวว่ายาที่เซียมซีขอไปรักษาหายจากโรคต่างๆ ได้ ทำให้มีร้านขายยาสมุนไพรจีน-ไทยแผนโบราณหลายร้านขายยาสมุนไพรกันมานานเป็น 100 ปี

มีร้านขายยาสมุนไพรจีน-ไทยแผนโบราณ เช่น ที่สี่แยกจุ๊ยตุ่ย, ที่หลังศาลเจ้าปุดจ้อ, ที่สามแยกถนนพังงากับถนนเยาวราช และที่ถนนถลางใกล้สี่แยกถนนเยาราช เป็นต้น รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ร้าน ชาวภูเก็ตใช้ตั๋วยาจากศาลเจ้าปุดจ้อมาซื้อยาไปต้มน้ำดื่มแก้โรคต่างๆ  ยาสมุนไพรต้มกับน้ำดื่ม ถือว่าสะอาดที่สุด      
ภายในศาลเจ้ามีที่เซียมซีขอยาสมุนไพรรักษาโรคสำหรับเด็กประมาณ 100 ตำรับ, สำหรับผู้หญิงประมาณ 100 ตำรับ, สำหรับผู้ชายประมาณ 100 ตำรับ, สำหรับยาทาภายนอกประมาณ 100 ตำรับ และสำหรับยาแก้โรคตาประมาณ 50 ตำรับ มีตั๋วยาใส่ไว้ในช่องเป็นชั้นๆ มีตัวเลขกำกับตั๋วยาและประเภทต่างๆ ข้างผนังภายในศาลเจ้า









ประสบการณ์  เมื่อสมัยเด็กคุณย่าได้นำมาไหว้ พระโพธิสัตว์กวนอิม และยกให้เป็นบุตร เพื่อให้เลี้ยงง่าย และนำมาขอยาต้มกินเสมอ แม้ก่อนนี้ก็ยังไปเซียมซีขอยาสมุนไพร ไปซื้อที่ร้านหงวนชุนต๋องที่ถนนถลางต้มกิน รู้สึกดีขึ้น 







Thursday, June 4, 2015

สมุนไพรในภูเก็ต และการบำบัดโรคด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น


สมุนไพรในภูเก็ต และการบำบัดโรคด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น


จัดทำโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
นธ.เอกบาลีประโยค 1-2
(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)
B.S. Engineering Design Tech.
 B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต
B.S. Computer Information Systems
B.TM. พทย์แผนไทยบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.

ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน
ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต
เพื่อการศึกษา และประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ชม

สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต 
 เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์  
กล้วยน้ำว้า ชื่อภาษาอังกฤษ Banana ปลูกขึ้นในสวน หรือหลังบ้าน



       

              กล้วยน้ำว้า เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นแผ่นยาวเส้นในใบขนานกัน ดอกเป็นช่อเรียกหัวปลี ผลเป็นหวีติดกันเป็นเครือ ต้นหนึ่งออกผงครั้งเดียวแล้วตายไป ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ หรือเมล็ด (บางชนิด)
สรรพคุณ  ใบ  รสเย็นจืด ปิ้งไฟปิดแผลไฟไหม้ ต้มอาบแก้เม็ดผดผื่นคัน ลดความดันโลหิต
              หัวปลี  รสฝาด ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน แก้โรคโลหิตจาง แก้โรคกระเพาะอาหารลำไส้
              เปลือกลูกดิบ    รสฝาด สมานแผล       ยาง  รสฝาด สมานแผล ห้ามเลือด
              ผลดิบ  รสฝาด แก้ท้องเสียที่ไม่รุนแรง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
              ผลสุก   รสหวาน ระบายอุจจาระ บำรุงกำลัง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงร่างกาย
              ราก      รสฝาดเย็น ต้มดื่ม แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ผื่นคัน สมานแผลภายใน
              น้ำคั้นจากหัวปลี  รสฝาด กินแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิต    
สรุปประโยชน์ทางยา และวิธีใช้  อาการท้องเสียไม่รุนแรง ใช้กล้วยน้ำว้าห่ามกินครั้งละ ½-1 ผลหรือใช้กล้วยดิบฝานเป็นแว่นตากแดด บดผงชงน้ำดื่มครั้งละ ½-1 ผลหรือปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานวันละ 4 ครั้งๆ ละ 4 เม็ด ก่อนอาหารและก่อนนอน หากรับประทานแล้วเกิดอาการท้องอืดเฟ้อ ให้ใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย
ฤทธิ์ทางพิษวิทยา ลดน้ำตาลในเลือด ต้านการบวม ทำให้อัตราการเต้นหัวใจช้าลง

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. กล้วยน้ำว้า. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 69, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. กล้วยน้ำว้า. สมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด หน้า 59, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
3. จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. กล้วยน้ำว้า. สมุนไพรลดความดันโลหิต 121 ชนิด หน้า 69-71, กรุงเทพฯ:
    โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด 2552
2.  กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข กล้วยน้ำว้า. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป
     สาขาเภสัชกรรม หน้า 106, นนทบุรี 


สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต 
เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์

สับปะรด (ยานัด) ชื่อภาษาอังกฤษ Pine Apple นิยมปลูกกันมากในภูเก็ต ตามร่องสวนยางที่ปลูกใหม่




         สับปะรด เป็นพืชล้มลุก ใบเรียวยาวปลายแหลม ขอบสากเป็นหนาม ดอกเป็นช่อใหญ่ ผลมีตารอบ
ยอดผลมีใบสั้นเป็นกระจุก เรียกว่าตะเกียง ปลูกเป็นอาหาร ขยายพันธุ์ด้วยตะเกียง และหน่อ
สรรพคุณ 
         ใบ                         รสเฝื่อน คั้นเอาน้ำดื่มขับพยาธิ
         ผล                         รสเปรี้ยวหวาน  แก้อักเสบ แก้บวม ทำให้แผลหายเร็ว กัดเสมหะ แก้ลักปิดลักเปิด
                                          ช่วยย่อยอาหาร  ใช้ปรุงอาหารทำให้เนื้อนุ่ม               
           ผลอ่อน               รสเปรี้ยวอมหวาน  ขับปัสสาวะ แก้หนองใน แก้กามโรค ขับพยาธิในเด็ก
         เปลือกผล              รสเฝื่อนเปรี้ยว  แก้กระษัย บำรุงไต ขับปัสสาวะ
         เหง้าและตะเกียง    รสหวานเย็น    ต้มดื่มขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้มุตกิด ระดูชาว แก้หนองใน 

สรุปประโยชน์ทางยา และวิธีใช้  ใช้เหง้าสดแห้ง แก้อาการขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะ ใช้เหง้าวันละ 1 กอบมือ
(สดหนัก 200-250 กรัม,แห้งหนัก 90 - 100 กรัม ) ต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (ประมาณ 75 มิลลิลิตร)


บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. สับปะรด. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 435, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2.  กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข สับปะรด. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป
     สาขาเภสัชกรรม หน้า 132, นนทบุรี

สมุนไพรในจังหวัดภูเก็ต 
เรียบเรียงโดย อ. หมอสุชาติ ภูวรัตน์
แพงพวย  ชื่อภาษาอังกฤษ Periwinkle, Pinkie-pinkie  ขึ้นอยู่ตามชายทะเลทั่วไป 
และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
   

          แพงพวย  เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเดี่ยวรูปไข่กลับ สีเขียว ส้นใบออกขาว ออกเป็นคู่ตามข้อ ดอกออกตามง่ามใบและยอด เป็นท่อเล็กๆ กลมกลีบแผ่แบนเรียบทรงกลม 5 กลีบ มีพันธุ์สีขาว และสีขมพูอมม่วง ฝักกลมยาว ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ 
         ใบ       รสเอียน ต้มดื่มแก้โรคเบาหวาน ลดความดันโลหิต
         ทั้งต้น  รสเอียน แก้โรคเบาหวาน บำรุงหัวใจ แก้มะเร็งในเม็ดเลือดของเด็ก
         ราก      รสเอียน แก้บิด ขับระดู ขับพยาธิ ห้ามเลือด รักษามะเร็งในเม็ดเลือด ทำให้แท้ง

สรุปประโยชน์ทางยา และวิธีใช้  ใช้ใบ ต้มน้ำดื่ม  ลดความดันโลหิต แก้เบาหวาน,
ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม  แก้เบาหวาน บำรุงหัวใจ,   ทั้งต้น ราก ต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็งในเม็ดเลือด
ข้อควรระวัง   ราก   ทำให้แท้ง

บรรณานุกรม
1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. แพงพวย. สารานุกรมสมุนไพร หน้า 327, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ 2540
2.  กองประกอบโรคศิลปะ. สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข แพงพวยบก. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม หน้า 38, นนทบุรี